
3D print คืออะไร ?
ขั้นตอนการสร้างวัสดุ 3D เริ่มจากสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ ก่อนจะส่งไปยังเครื่องพิมพ์เพื่อสร้างชิ้นงานนั่นเอง
3D Printing มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ Additive Manufacturing มีรากมาจากคำว่า ‘เพิ่ม’ ซึ่งคือการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นๆ จนได้ออกมาเป็นวัตถุที่ต้องการ กระบวนการผลิตชนิดนี้ได้ฉีกแนวจากวิธีการแบบเดิมๆ เป็นการสกัดเนื้อวัสดุออกจนได้เป็นรูปร่างของวัตถุที่ต้องการผลิต โดยวิธีการตัด กลึง ไส เจาะ เจียรไน นั่นเอง
เครื่อง 3DPrinter มีอยู่มากมายหลากหลายประเภท ทั้งเครื่องที่ขึ้นรูปชิ้นงานจากวัสดุพลาสติก โลหะ เซรามิค ตั้งแต่ขนาดเล็กกว่าฝ่ามือไปจนถึงขนาดเท่าบ้านทั้งหลังก็มีนะครับ แต่ทุกประเภทมีหลักการทำงานเหมือนกัน นั่นก็คือการขึ้นรูปชิ้นงานทีละชั้นๆ ซ้อนกันจนกลายเป็นวัตถุที่ต้องการ เทคโนโลยี 3DPrinting ที่แพร่หลายที่สุดคือ FDM (Fused Deposition Modeling) ซึ่งใช้วิธีละลายเส้นพลาสติก และ ฉีดพลาสติกขึ้นรูปเป็นวัตถุทีละชั้น
ผลงานการสร้างสรรค์ และ การวิจัยของคนไทย กำลังไปได้ไกลขึ้น มจธ. ก้าวสู่ระดับโลกแล้ว ผลักดันผลงานด้านการแพทย์อีกด้วย หยิบเอาเทคโนโลยี เครื่องพิมพ์3มิติ มาใช้ ต่อยอดช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
ในขณะนั้น อุตสาหกรรมทางการแพทย์ (EECO) มีความต้องการอุปกรณ์มากขึ้น แต่ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และ มีต้นทุนค่อนข้างสูง
OsseoLabs จึงได้สร้างผลงาน การผ่าตัดศัลยกรรมกราม ขากรรไกร และ ใบหน้า ด้วยการพิมพ์ 3Dprint โดยใช้ “วัสดุทดแทนกระดูกประเภทมีรูพรุนเฉพาะ” เพื่อนำไปปลูกถ่ายกระดูกบริเวณขากรรไกร และ ใบหน้า
ข้อดีของการใช้ 3Dprint จะสามารถขึ้นรูปทรงที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกับผลการศึกษาวิจัย ใช้ความรู้ทางด้านเครื่องกลและเทคโนโลยีการพิมพ์ 3มิติ ในการออกแบบ และ ขึ้นรูป พัฒนาเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์จะช่วยแพทย์ในการผ่าตัดได้มีประสิทธิภาพสะดวก แม่นยำ และ รวดเร็วมากขึ้น
งานวิจัยนี้ได้จับมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ นำผลงานไปใช้ในการผ่าตัด ที่ยังมีผู้ป่วยในไทยที่รอการผ่าตัดเป็นอยู่จำนวนมาก
อีกทั้งยังเตรียมต่อยอดผลงานวิจัยไปอยู่ในรูปแบบเชิงพาณิชย์ เพื่อทำให้ขยายการรักษาได้มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
